วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ความรู้ เรื่อง มะยม

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Phyllanthus acidus  (L.) Skeels

ชื่อสามัญ :   Star Gooseberry

วงศ์ :   Euphorbiaceae

ชื่อท้องถิ่น

-ทั่วไป เรียก มะยม

-ภาคอีสาน เรียก หมักยม, หมากยม

-ภาคใต้ เรียก ยม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง

แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ

เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่

ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ

ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว

เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้ :  ใบตัวผู้ ผลตัวเมีย รากตัวผู้

สรรพคุณ :

ใบตัวผู้  -   แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง ปรุงในยาเขียว และใช้เป็นอาหารได้

ผลตัวเมีย  - ใช้เป็นอาหารรับประทาน

รากตัวผู้  -  แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบตัวผู้ หรือรากตัวผู้ ต้มน้ำดื่ม

สารเคมี

ผล  มี tannin, dextrose, levulose, sucrose, vitamin C

ราก  มี beta-amyrin, phyllanthol, tannin saponin, gallic acid



การขยายพันธุ์

การตอน เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด

จากการทดลองตอนต้นขนาดใหญ่อายุประมาณ 10

ปียังสามารถออกรากได้ และออกดอก

ติดผลได้ในปีแรกหลังการปลูกกิ่งตอน การเพาะเมล็ด

เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย

แต่ต้องใช้เวลาในการให้ผลผลิตยาวนานกว่าการตอน

โรคและแมลง

ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร

การปลูก

มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัดหรือในที่ร่มรำไร ปลูกในดินร่วนซุย

ความชื้นเหมาะสม ปลูกในดินร่วนซุย ความชื้นเหมาะสม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด



การขยายพันธุ์   มะยม          

      ตอน (ดีที่สุด). ชำ. เสียบยอด. เพาะเมล็ด

(ไม่กลายพันธุ์/มีรากแก้วทำให้ได้ต้นสูงใหญ่)    

มะยม

เป็นผลไม้ที่มีเมล็ดหุ้มเปลือกหนาเพาะธรรมดาน้ำจะซึมเข้าเมล็ดลำบากมากวิธีการ

ตามหลัก ต้องแช่ในด่าง เช่น โซดาไฟ หรือกรดเพื่อให้กัดเปลือกหุ้มเมล็ดเสียก่อน

แต่จะแช่นานแค่ไหนและความเข้มข้นของด่างหรือกรดเท่าใดนั้นไม่มีข้อมูล อีกวิธี

คือต้องใช้วิธีฝนเปลือกหุ้มเมล็ดให้บาง

แล้วนำไปแช่น้ำก่อนนำไปเพาะอีกทีเมล็ดพืชที่มีเปลือกหุ้มเมล็ดหนา ๆ

ส่วนมากต้องใช้วิธีแบบนี้


วิธีการปลูก

หลักการใหญ่ ๆ ของการปลูกไม้ยมหอม

หลังจากคัดเลือกพันธุ์ที่ดีได้แล้วก่อนปลูกขุดหลุมลึก

และกว้าง-ยาว 30 – 40 ซม. ใช้ปุ๋ยคอก – ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมเล็กน้อย ( 0.5 กก. )

ดินกลบทับหน้าปุ๋ยเล็กน้อย

นำต้นไม้วางและกลบดินให้แน่น

ในกรณีฝนไม่ตกหรือปลูกหน้าแล้ง

ให้นำน้ำหยดที่โคนต้นเล็กน้อย 1 – 2 ลิตร ทุก ๆ 3 วัน ต่อ

1 ครั้ง รวมประมาณ 1 เดือน ไม้ยมหอมจะตั้งตัวได้ หากปลูกในฤดูฝน ประมาณ 1-2 เดือน

หลังจากที่ปลูกให้บำรุงด้วยปุ๋ยคอก รอบโคนต้นอีก 1 ครั้ง หรือบำรุงด้วยการฉีดฮอร์โมนอาหารทางใบ

เดือนละ 1 ครั้ง ก็จะดีมาก การบำรุงและป้องกันโรคแมลงนั้น หลังจากปลูกแล้ว 2 – 3 เดือน

หรือไม้สูงประมาณ 1 เมตรไปแล้ว ควรฉีดยาฆ่าแมลงหรือปุ๋ยชีวภาพบางชนิดที่มีคุณสมบัติป้องกันโรคแมลงได้

เช่น ปุ๋ยปลา , ยาฉุน หรือสารเคมีทุก ๆ 15 วัน ต่อครั้ง จนมีความสูงประมาณ 6 เมตร ซึ่งปกติใช้เวลา 1 – 2

และที่สำคัญต้องปล่อยให้โคนต้นไม้ยมหอมมีหญ้าขึ้นรก ๆ และควรปลูกผสมผสานกับพืชชนิดอื่น ๆ

เช่นปลูกในสวนกล้วย

ส่วนการป้องกันแมลงอีกวิธีง่าย ๆ โดยวิธีธรรมชาติ คือ การเลี้ยงมดแดง ตัวห้ำ ตัวเพียน

เพียงเท่านี้เราก็จะมีไม้ยมหอมไว้ขายในอนาคตแน่นอน

ที่มา:http://www.ecarddesignanimation.com/home/tree_13.php

ที่มา: http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=86801

ที่มา:http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_02_9.htm

ที่มา:http://www.rakbankerd.com/webboard/webboard_detail.php?topic_id=379

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น